Thaipat Institute

GRI Certified Training Partner นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2556

รู้จัก    CG   ¦   ESG   ¦   CSR   ¦   CSV   ¦   SD   ¦   SE   ¦   SB

Thaipat Research


หน่วยงานวิจัยของสถาบันไทยพัฒน์ เน้นการศึกษาและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อรองรับการขับเคลื่อนงานตามพันธกิจและวัตถุประสงค์ ซึ่งประกอบด้วยงานวิจัยที่ศึกษาให้กับหน่วยงานภายนอก (On-board Research) และงานวิจัยที่ริเริ่มขึ้นภายในองค์กร (In-house Research)


On-board Research


A review of religious foundations, impacts of religion on Asian business, and visions for the continued evolution of religion in modern business. The study of “Buddhism: Saving Business through Enlightened Ethics” is presented in the book titled “Asia's New Crisis: Renewal through Total Ethical Management” by Frank-Jurgen Richter and Pamela C. M. Mar, forward by Klaus Schwab, executive chairman & founder of the World Economic Forum (WEF). This book is the result of collaboration between key leaders from business, government and civil society. The aim of this book is to present a balanced and comprehensive perspective on the foundations and practice of ethics, corporate governance and social responsibility in Asia today. The issues from Asia’s thought leaders on ethics covered in the book include corporate social responsibility; sources of business ethics in Asia; ethics in regional relations, social development, media, labour, international organizations and civil society (2004).

The contribution to policy dialogue about the practical application of Sufficiency Economy in Thailand and to the ongoing debate about how to translate the Sufficiency Economy thinking into effective policies and concrete action plans to transform the way we tackle poverty, manage the economy, run businesses, and govern country. The background paper on “Sufficiency Economy as a Management Tool in Private Business” and participation in research team of “the Thailand Human Development Report: Sufficiency Economy and Human Development” help spread the message of the Sufficiency Economy beyond the borders of Thailand during these times of economic uncertainties, global warming and unsustainable use of natural resources. This volume of the United Nations Development Programme (UNDP) human development report offers a more balanced and sustainable path of development – a much-needed alternative to the unsustainable road the world is currently travelling down (2007).

Thailand has emerged in the last decade as a key economy in South-East Asia and being home to both stewardship big companies playing in the global economy and dynamic SMEs. The concept of responsible business conduct (RBC) or corporate social responsibility (CSR) in Thailand is deeply rooted in cultural, social and economic factors, and has been evolving fast. The CSR initiatives are no longer driven by philanthropy, but are increasingly motivated by more business cases in the value chain. The country study on “Responsible Business Conduct in Thailand” for the Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD) had been conducted to indicate broad picture of firm awareness and engagement in RBC/CSR landscape at provincial level nationwide; policies, codes of conduct, management systems or due diligence processes, and CSR performance; sectoral or regional initiatives which present the advantage of taking into account the specificities of the sectors, industries or regions involved; and recommendations for more effective promotion of RBC in Thailand (2009).

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ แนวทางการดำเนินธุรกิจเพื่อสังคม (CSR) / กิจการเพื่อสังคม (SE) สำหรับผู้สูงอายุ จัดทำโดยสถาบันไทยพัฒน์ ภายใต้โครงการส่งเสริมความร่วมมือการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสังคมสำหรับผู้สูงอายุ ที่ได้รับการสนับสนุนจากกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมที่อยู่ในกระบวนการทำงานหลักของกิจการ (CSR-in-process) สำหรับผู้สูงอายุ และหารูปแบบแนวทางการดำเนินกิจการเพื่อสังคม (CSR-as-process) ที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ (2016)

คู่มือ แนวปฏิบัติทางธุรกิจกับผู้สูงอายุ (Business Guidance on Older Persons) ฉบับอ้างอิง GRI Standards เป็นฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2561) จากฉบับอ้างอิง GRI G4 Guidelines (ฉบับปี พ.ศ. 2559) ซึ่งเป็นผลจากการศึกษาหลักการและแนวทางด้านผู้สูงอายุและแรงงานผู้สูงอายุทั้งในระดับสากลและในประเทศไทย โดยสถาบันไทยพัฒน์ ภายใต้โครงการส่งเสริมความร่วมมือการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสังคมสำหรับผู้สูงอายุ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นคู่มือสำหรับองค์กรในการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ พร้อมตัวอย่าง/ข้อแนะนำ และตัวชี้วัดที่เหมาะสมสำหรับองค์กร (2018)

ในปี พ.ศ.2561 สถาบันไทยพัฒน์ได้ทำการประมวลข้อมูลด้านการพัฒนาความยั่งยืนของกิจการจำนวน 100 แห่ง โดยการสนับสนุนของ CSR Club สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย จัดทำเป็นรายงานสถานภาพความยั่งยืนของกิจการ (State of the Corporate Sustainability Report) จำแนกตามกลุ่มอุตสาหกรรม โดยการวิเคราะห์สถานภาพการพัฒนาความยั่งยืนของกิจการ อาศัยข้อมูลผลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ที่ปรากฎในรายงานแห่งความยั่งยืน รายงานประจำปี และข้อมูลด้าน ESG (Environmental, Social and Governance) ขององค์กร ที่เปิดเผยแก่สาธารณะ (2018)



In-house Research


State of Corporate Sustainability
ในปี พ.ศ.2563 สถาบันไทยพัฒน์ได้ทำการประมวลและจัดทำรายงานสถานภาพความยั่งยืนของกิจการ “The State of Corporate Sustainability in 2020” จำแนกตามกลุ่มอุตสาหกรรม ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลความยั่งยืนที่เปิดเผยโดยองค์กรสมาชิกประชาคมการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน 115 แห่ง เพื่อให้องค์กรที่สนใจ สามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ศึกษา เปรียบเทียบสถานะ และกำหนดทิศทางการพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืนตามบรรทัดฐานในอุตสาหกรรม

Frameworks and Standards
ผลการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (UNCSD) หรือ Rio+20 ในปี 2555 ได้ทำให้เกิดกรอบการทำงานเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนฉบับใหม่ โดยสาระสำคัญเรื่องหนึ่งในเอกสารผลลัพธ์การประชุมที่ได้รับการเห็นชอบจากชาติสมาชิก 193 ประเทศ ได้แก่ การผลักดันภาคธุรกิจ โดยเฉพาะบริษัทจดทะเบียนและกิจการขนาดใหญ่ ให้มีการรายงานข้อมูลความยั่งยืนของกิจการ และในปีเดียวกัน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้เผยแพร่แนวทางและวิธีจัดทำรายงานแห่งความยั่งยืนตามกรอบการรายงานสากล Global Reporting Initiative (GRI) ให้แก่บริษัทจดทะเบียน จากนั้นในปี 2556 สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลตามแบบ 56-1 โดยกำหนดให้มีการเปิดเผยข้อมูลในหัวข้อความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR เพิ่มเติม ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่ปี 2557

สถาบันไทยพัฒน์ ได้ศึกษาและจัดทำกรอบการรายงาน CSR บูรณาการในรายงานประจำปี (Integrated CSR Reporting Framework) สำหรับบริษัทจดทะเบียนได้ใช้เป็นแนวทางในการจัดทำรายงาน CSR ให้เป็นไปตามประกาศของสำนักงาน ก.ล.ต. (Local Track) และสามารถยกระดับสู่การจัดทำรายงานแห่งความยั่งยืนในระดับสากล (Global Track)

Ratings and Indexes
สืบเนื่องจากที่สถาบันไทยพัฒน์ได้ดำเนินการศึกษาและจัดทำแนวทางการประเมินระดับการรายงานความยั่งยืนของกิจการ ในปี 2556 เพื่อใช้ในโครงการประกาศรางวัลรายงานความยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมและยกระดับการจัดทำรายงานความยั่งยืนของบริษัททั้งในตลาดหลักทรัพย์และนอกตลาดหลักทรัพย์

สถาบันไทยพัฒน์ ได้พัฒนาต่อยอดแนวทางการประเมินระดับของการรายงาน มาสู่การประเมินระดับของการดำเนินงานที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมและการต้านทุจริตขององค์กร ในปี 2557 สำหรับใช้ในโครงการประเมินการดำเนินการเพื่อความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนไทย และนำไปสู่การจัดทำดัชนี CSP (Corporate Sustainability Progress) และดัชนี ACP (Anti-Corruption Progress) ของกิจการ

นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยอื่นๆ ที่สถาบันไทยพัฒน์ ดำเนินการศึกษาในประเด็นซึ่งเป็นที่ต้องการของภาคสังคมและภาคเอกชน ในช่วงเวลานั้นๆ อาทิ การวิจัยเพื่อการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในภาคธุรกิจ การศึกษา CSR ในกระบวนการบริหารจัดการองค์กรธุรกิจ การจัดทำข้อเสนอนโยบายการส่งเสริมธุรกิจเพื่อสังคม การจัดทำกรณีความช่วยเหลือของภาคเอกชนกับการฟื้นฟูหลังประสบภัย ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหัวข้อความริเริ่มของสถาบันไทยพัฒน์